วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ไบโอดีเซล




สามารถทำได้ง่ายๆด้วยตนเอง คือ
1. ต้มน้ำมันเก่าให้ร้อน 50-60 องศาเซลเซียส โดยใช้หม้อหุงข้าว นักเรียนผู้ทำโครงงานนี้คือ นายณรงชัย ชาติครบุรี ม.6/1 โรงเรียนโชคชัยสามัคคี นะ คะ ( ยังมีต่อนะคะ )

2. ผสมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 9-12 กรัม ลงในเมทานอล 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต่อน้ำมัน 1 ลิตร

3. เทสาร ข้อ 2 ลงในข้อ 1 คนไปทางเดียวให้เเข้ากัน 20-30 นาที

4. ทิ้งไว้จะแยกเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไบโอดีเซล ชั้นล่างเป็นกลีเซอรีน

5. แยกกลีเซอรีนออกไปใช้ประโยชน์ ส่วนไบโอดีเซลนำไปล้างด้วยน้ำจะได้น้ำสบู่ ตกอยู่ตอนล่าง

6. นำน้ำสบู่ไปใช้ประโยชน์ ส่วนไบโอดีเซล นำไปต้มไล่น้ำออกไปจะได้ไบโอดีเซลที่ ใสสะอาด

7. ทดสอบหาความถ่วงจำเพาะและความหนืด ก่อนนำไปใช้งานกับเครื่องยนต์
















นักเรียนม. 6/1 โรงเรียนโชคชัยสามัคคี กลุ่มทำโครงงาน กำลังตรวจสอบสมบัติการลุกไหม้

ของไบโอดีเซล กับ ดีเซล















นำไบโอดีเซลไปตรวจค่าความถ่วงจำเพาะโดยใช้
ไฮโดรมิเตอร์















นักเรียนโรงเรียนคลองกลางทำการล้างไบโอดีเซล








หลังจากปั่นแล้วทิ้งไว้ 1 - 2 ชั่วโมงจะได้ไบโอดีเซลแยกอยู่ชั้นบน ส่วนชั้นล่างเป็นกลีเซอรีน



นักเรียนโรงเรียนโชคชัยสามัคคีชั้น ม.4/3
กำลังล้างไบโอดีเซลด้วยน้ำ














นักเรียนโรงเรียนโชคชัยสามัคคี
ชั้น ม. 2/1 กำลังปั่นไบโอดีเซล






































































ขณะปั่นไบโอดีเซลต้องถ่ายเทให้ผสมกันอย่างทั่วถึง















เท เมทานอลลงในน้ำมันที่ร้อน 50 - 60 องศาเซลเซียส















ตวงเมทานอล 200 ลูกบาศก์เซ็นติเมตรสำหรับน้ำมัน 1 ลิตร














ชั่งโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 9 - 12 กรัมต่อนน้ำมัน 1 ลิตร












































































































































































































































































































































































































วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ไบโอดีเซล


สามารถทำได้ง่ายๆด้วยตนเอง คือ
1. ต้มน้ำมันเก่าให้ร้อน 50-60 องศาเซลเซียส โดยใช้หม้อหุงข้าว นักเรียนผู้ทำโครงงานนี้คือ นายณรงชัย ชาติครบุรี ม.6/1 โรงเรียนโชคชัยสามัคคี นะ คะ ( ยังมีต่อนะคะ )
2. ผสมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 9-12 กรัม ลงในเมทานอล 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต่อน้ำมัน 1 ลิตร
3. เทสาร ข้อ 2 ลงในข้อ 1 คนไปทางเดียวให้เเข้ากัน 20-30 นาที
4. ทิ้งไว้จะแยกเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไบโอดีเซล ชั้นล่างเป็นกลีเซอรีน
5. แยกกลีเซอรีนออกไปใช้ประโยชน์ ส่วนไบโอดีเซลนำไปล้างด้วยน้ำจะได้น้ำสบู่ ตกอยู่ตอนล่าง
6. นำน้ำสบู่ไปใช้ประโยชน์ ส่วนไบโอดีเซล นำไปต้มไล่น้ำออกไปจะได้ไบโอดีเซลที่ ใสสะอาด
7. ทดสอบหาความถ่วงจำเพาะและความหนืด ก่อนนำไปใช้งานกับเครื่องยนต์

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ดูสุริยุปราคาทางอ้อมด้วยกล้องรูเข็มที่โคราช เมื่อ 26 ม.ค.52

สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่ห้ามดูด้วยตาเปล่า ควรดูด้วยวิธีต่างๆดังนี้

1. ดูด้วยแว่นกรองแสง หรือแผ่นกรองแสง

2. ดูทางอ้อม โดยการฉายภาพดวงอาทิตย์ลงบนฉากรับภาพ แล้วดูภาพดวงอาทิตย์บนฉาก

3. ใช้หลักการของกล้องรูเข็ม โดยเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 1 ซ.ม. แล้วนำไปสะท้อนแสงอาทิตย์ ให้ภาพไปตกบนฉากรับภาพสีขาว ระยะตกถึงฉาก 1 เมตร จะได้ขนาดภาพ 9 ม.ม. ( 10 เมตรจะได้ 9 ซ.ม.)

4. หลักการกล้องรูเข็ม หากมีต้นไม้จะมีแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านช่องระหว่างใบไม้ แล้วไปตกที่ฉากรับภาพบนพื้นหรือผนัง จะได้ภาพเว้าแหว่งตามดวงอาทิตย์ด้วย

4.1 รูปร่าง รูที่เจาะ ไม่มีผลต่อภาพบนฉาก

4.2 ขนาดของรู จะมีผลทำให้เกิดความคมชัด และความสว่างของภาพ

- รูเล็ก ให้ภาพคมชัด แต่สว่างน้อย

- รูใหญ่ ให้ภาพคมชัดน้อยลง แต่สว่างมาก

ภาพถ่ายสุริยุปราคาบางส่วน ของวันที่ 26 มกราคม 2552
โดยครูภารดี บุญรอด ครูชำนาญการ โรงเรียนโชคชัยสามัคคี
สถานที่ถ่ายภาพ : บ้านพักเลขที่ 260/8 ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
เวลาตั้งแต่ : 17.15-17.50 น. โทร. 085-7640083

วิธีทำ : ใช้กระดาษ A 4 เจาะรูด้วยเข็มเย็บผ้า ให้เป็นรูปร่างต่างๆหรือข้อความที่ต้องการ
แล้วนำไปรับแสงอาทิตย์ในเวลา 17.15-17.50 น.

จะทำให้เกิดภาพดวงอาทิตย์ เว้าแหว่งอยู่บนฉาก แล้วถ่ายภาพได้
( ขนาดรูเข็มเย็บผ้า จะเกิดระยะภาพประมาณ 0.5 เมตร)

(ภาพจะถ่ายได้คมชัดต้องอยู่ในอาคาร หรือภายในบ้าน ไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง)

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552 ซึ่งตรงกับวันตรุษจีนและเป็นวันเดือนดับ ดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน อันเนื่องมาจากวันนั้นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาครั้งนี้ได้ในช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น โดยดวงจันทร์บดบังเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์

เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 13.06 น. (เวลาประเทศไทย) ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 5 นาที 44 วินาที ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น จากนั้นเงามืดเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย จุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 7 นาที 56 วินาที

เงามืดเคลื่อนต่อไป ผ่านหมู่เกาะคอคอสในมหาสมุทรอินเดีย เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กในเครือรัฐออสเตรเลีย และถึงทางใต้ของเกาะสุมาตรากับด้านตะวันตกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ในเวลาประมาณ 16.37 น. กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย อยู่นอกเขตสุริยุปราคาวงแหวนโดยห่างลงไปทางใต้ของเส้นทางสุริยุปราคาวงแหวน


เงามืดเคลื่อนต่อไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านช่องแคบกะริมาตา พาดผ่านเกาะบอร์เนียวกับบางส่วนทางตอนเหนือของเกาะเซลีเบส สุริยุปราคาวงแหวนสิ้นสุดในเวลา 16.52 น. เป็นจังหวะที่ศูนย์กลางเงาหลุดออกจากผิวโลกในทะเลเซลีเบส ตรงบริเวณกึ่งกลางระหว่างเกาะเซลีเบสของอินโดนีเซียกับเกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์ ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 5 นาที 40 วินาที ขณะดวงอาทิตย์ตก


บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมทางใต้ของทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย (ยกเว้นแทสเมเนีย) รวมไปถึงบางส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่


ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้ได้โดยต้องใช้แผ่นกรองแสงเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงอาทิตย์ หรือสังเกตการณ์ทางอ้อม เช่น ดูภาพสะท้อนบนผนังผ่านกระจกที่ทำหน้าที่คล้ายกล้องรูเข็ม

ดวงจันทร์เริ่มบังดวงอาทิตย์ในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่สูงประมาณ 30-40 องศา และดำเนินไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ใกล้ตกลับขอบฟ้า ภาคใต้ตอนล่างเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ



ซึ่งตรงข้ามกับสุริยุปราคาเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ที่เงามืดพาดผ่านเหนือประเทศไทยขึ้นไป เวลาที่เกิดปรากฏการณ์ก็จะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยเริ่มเวลาประมาณ 16.00 น. และสิ้นสุดในเวลาประมาณ 18.00 น. ขณะบังเต็มที่ในเวลาประมาณ 17.00 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งทางซ้ายมือค่อนไปทางด้านบน หลายจังหวัดทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน จะยังคงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่เล็กน้อยในจังหวะที่ดวงอาทิตย์ตกดิน


สุริยุปราคาบางส่วนเป็นปรากฏการณ์ที่ห้ามดูด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องมีแว่นกรองแสงหรือแผ่นกรองแสงที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับส่องดูดวงอาทิตย์และอาจใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงปิดบังหน้ากล้อง นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตปรากฏการณ์ทางอ้อมได้โดยฉายภาพดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงบนฉากรับภาพ แล้วดูดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนฉาก แต่ควรเฝ้าระวังอย่าให้เด็กหรือผู้ที่ไม่รู้มองเข้าไปในกล้อง


วัสดุกรองแสงที่ไม่ปลอดภัยและควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ กระจกรมควัน แว่นกันแดด กระดาษห่อลูกอม แผ่นดิสเก็ตต์ ฟิล์มเอกซ์เรย์ ฟิล์มถ่ายรูป ฯลฯ อย่านำมาใช้ดูดวงอาทิตย์ แม้ว่าวัสดุเหล่านี้จะมีความสามารถในการกรองแสงในย่านแสงที่ตามองเห็น แต่รังสีอินฟราเรดสามารถทะลุผ่านได้และจะเป็นอันตรายต่อดวงตา


สำหรับผู้ที่ไม่มีแผ่นกรองแสงหรือทัศนูปกรณ์อื่น อาจใช้วัสดุที่พบได้ง่ายในบ้านมาช่วยในการสังเกตสุริยุปราคา โดยใช้หลักการของกล้องรูเข็ม สิ่งที่ต้องมีคือกระจกเงาบานเล็ก กระดาษขนาดใหญ่กว่ากระจก มีดคัตเตอร์หรือกรรไกร และเทปกาว จากนั้นนำกระดาษมาเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 เซนติเมตร ซึ่งอาจใช้มีดกรีดโดยตรงหรือพับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัด เมื่อเจาะกระดาษแล้ว ให้นำไปประกบกับบานกระจกด้วยเทปกาว เวลาใช้งานให้นำกระจกเงาที่ปิดด้วยกระดาษเจาะรูดังกล่าว ไปสะท้อนแสงอาทิตย์ให้แสงไปตกบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ในบ้าน ภาพที่เห็นบนฉากคือภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์

หลังจากสุริยุปราคาในวันนี้ ประเทศไทยจะมีโอกาสสังเกตสุริยุปราคาอีกครั้งในช่วงสายของวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่เส้นทางคราสพาดผ่านประเทศอินเดียและจีน ประเทศไทยอยู่นอกเส้นทาง จึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกเช่นเดียวกัน

ที่มาบางส่วนจาก http://iblog.siamhrm.com/
และที่ http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200901ase.html